วันอังคาร ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
ความรู้ที่ได้รับ
การเรียนการสอนวันนี้อาจารย์บาสให้นำเสนองานของกลุ่มต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น PowerPoint หรือวีดีโอต่างๆที่นักศึกษาคิดกันมาแต่ละกลุ่ม กลุ่มของดิฉันเสนอเรื่อง ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์ก (Lawrence Kohlberg)
รูป บรรยากาศการเรียน
ประวัติลอเรนซ์ โคลเบิร์ก (Lawrence Kohlberg)
ลอว์เร Kohlberg (25 ตุลาคม 1927 - 19 มกราคม 1987) เป็น อเมริกันยิว นักจิตวิทยา ที่เกิดใน Bronxville, New York , ที่ทำหน้าที่เป็นอาจารย์ที่ มหาวิทยาลัยชิคาโกเป็น HarvardUniversity ผู้เชี่ยวชาญในการวิจัยเกี่ยวกับการศึกษาคุณธรรมและเหตุผล ในทฤษฎีของขั้นตอนของการพัฒนาจริยธรรม ความรู้ความเข้าใจ การทำงานของ Kohlberg สะท้อนและขยายความคิด ของบรรพบุรุษของเขาในเวลาเดียวกันการสร้างเขตข้อมูลใหม่ภายในจิตวิทยา "การพัฒนาคุณธรรม"
ลอว์เรนซ์ โคลเบอร์ก (Lawrence Kohlberg Lawrence Kohlberg Lawrence Kohlberg )ได้ศึกษาพัฒนาการทางจริยธรรมตามแนวเพียร์เจท์ และพบว่าพัฒนาการทางจริยธรรมของมนุษย์นั้นมิได้บรรลุจุดสมบูรณ์เมื่อบุคคลอายุได้ ๑๐ ปี แต่จะพัฒนาไปอีกหลายขั้นตอนจากอายุ 11-25 ปี และเขายังเชื่อว่า ในการวัดขั้นพัฒนาการทางจริยธรรมนั้นจะต้องใช้การให้เหตุผลเชิงจริยธรรมอย่างเดียวเท่านั้น โคลเบอร์ก ได้แบ่งระดับของจริยธรรมออกเป็น 3 ระดับ ซึ่งทั้ง 3 ระดับนั้นจัดเป็นขั้นพัฒนาการทางจริยธรรมได้ 6ขั้น คือ
ใช้หลักการหลบหลีกการลงโทษ (Obedience and Punishment Orientation)
เกิดขึ้นกับเด็กในช่วงอายุแรกเกิดถึง 7 ปี ขั้นนี้เด็กชอบใช้การหลีกเลี่ยงการถูกลงโทษ เลือกกระทำในทางที่เกิดประโยชน์แก่ตนเองมากกว่า เด็กมักเข้าใจว่าความดี หมายถึงสิ่งที่ทำแล้วไม่ถูกลงโทษหรือถูกตำหนิ เช่น เด็กทำการบ้าน เด็กทำเวรเพราะกลัวครูลงโทษ เป็นต้น การตัดสินว่าอะไรถูกหรือผิด เด็กจะมองที่ผลของการกระทำว่าถ้าทำเสียหายมากก็ตัดสินว่า การกระทำนั้นผิด ไม่ได้มองที่สาเหตุของการกระทำ
ใช้หลักการกระทำที่คนอื่นเห็นว่าดี (Good-boy Orientation)
เกิดกับบุคคลในช่วงอายุ 10-13 ปี ขั้นนี้ตรงกับวัยที่เด็กย่างเข้าวัยรุ่น เด็กจะให้ ความสำคัญแก่กลุ่มเพื่อนมาก จะกระทำเพื่อต้องการให้กลุ่มยอมรับ จึงมีการ เลียนแบบตัวแบบที่ตนเห็นว่าดีงาม คือ เอาอย่างเด็กดี (Good Boy,Nice Girl) เด็กวัยนี้ส่วนใหญ่จะทำตามในสิ่งที่ตนตัดสินว่าคนอื่นจะเห็นด้วยหรือยอมรับ เพื่อให้เป็นที่ชอบ พอและเป็นที่ยอมรับของกลุ่มเพื่อน
สรุป จริยธรรมขั้นนี้จะเน้นหนักในด้านการทำตามคนอื่นมากว่าการคำนึงเรื่องการถูกลงโทษและการต้องการรางวัล
ใช้หลักการกระทำตามหน้าที่ (Authority and Social Order Maintaining Orientation)
เกิดกับบุคคลในช่วงอายุ 13-16 ปีขั้นนี้บุคคลจะมีความรู้และประสบการณ์ ว่าแต่ละกลุ่มจะมีกฎเกณฑ์ให้สมาชิกยึดถือมีความเข้าใจในหน้าที่ของตนในกลุ่ม มีศรัทธาในกฎเกณฑ์ของกลุ่มมากพอสมควร เข้าใจในบทบาทของผู้อื่น การกระทำที่ถูกต้องจะต้องพิจารณาเพื่อกลุ่มหรือส่วนรวม
สรุปว่า จริยธรรมขั้นนี้เน้นในเรื่องการกระทำตามหน้าที่ในหมู่คณะทำตามขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมมากกว่า กลัวการถูกลงโทษ หรือทำเพื่อต้องการรางวัลหรือการกระทำตามกลุ่มเพื่อน
ใช้หลักการเคารพตนเองหรือการทำตามคำมั่นสัญญา (Contractual Legalistic Orientation) เกิดกับบุคคลอายุตั้งแต่ 16 ปีขึ้นไป ขั้นนี้บุคคลพยายามกระทำเพื่อหลบหนีไม่ให้ถูกตราหน้าว่าเป็นคนขาดเหตุผล เป็นคนไม่แน่นอน คำว่าหน้าที่ของบุคคลในที่นี้ หมายถึง การกระทำตามที่ตกลงมีความเคารพตนเองและต้องการให้ผู้อื่นเคารพตน ขั้นนี้บุคคลจะมีอุดมคติหรือคุณธรรมประจำใจตนเอง หรือสัญญาไว้กับผู้อื่น เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตัวด้วย
ใช้หลักอุดมคติสากล (Conscience Orientation)
เช่น หิริโอตัปปะ คือ มีความละอายใจตนเองในการกระทำชั่วและเกรงกลัวบาป เป็นบุคคลที่มีการเสียสละเพื่อสังคมอย่าง แท้จริง เช่น มหาบุรุษของอินเดีย คือ คานธี
รูป บรรยากาศการเรียน
ประเมินตนเอง : ตั้งใจฟังสิ่งที่อาจารย์แนะนำหลังจากการนำเสนอของกลุ่มตัวเอง และฟังเพื่อนนำเสนอโดยไม่คุยเสียงดัง
ประเมินเพื่อน : ตั้งใจฟังกลุ่มต่างๆนำเสนอดี ไม่คุยกันเสียงดัง
ประเมินอาจารย์ : แนะนำข้อผิดพลาดต่างๆในการนำเสนอของแต่ละกลุ่ม และอธิบายเข้าใจง่าย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น