วันอังคารที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561







ครั้งที่ 7
วันอังคาร ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

 ความรู้ที่ได้รับ

                     การเรียนการสอนวันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละคนนำเสนอบทความ ที่นักศึกษาแต่ละคนหามาเพื่อมานำเสนอในสัปดาห์นี้ บทความของฉันคือเรื่อง พัฒนาการทางด้านร่างกายของเด็กวัย 3 - 6 ปี (วัยอนุบาล) มีการเปลี่ยนแปลงไปเร็วแค่ไหน และมีการพัฒนาอย่างไร



รูป บรรยากาศการเรียน


พัฒนาการทางด้านร่างกายของเด็กวัย 3 - 6 ปี

             เด็กในวัยนี้พัฒนาการด้านร่างกายเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะเรื่องความสูงและน้ำหนัก เด็กจะมีสัดส่วนของร่างกายใกล้เคียงกับผู้ใหญ่มากขึ้น แขนและขายาวขึ้น เคลื่อนไหวคล่องแคล่วขึ้น ชอบวิ่งเล่น กระโดดโลดเต้น ไม่อยู่นิ่ง พร้อมทำกิจกรรมที่ต้องใช้แรง ใช้กำลังมากขึ้น ชอบอยู่กลางแจ้ง นอกจากนี้ยังสามารถใช้มือในการหยิบจับสิ่งของต่างๆได้มากขึ้น เด็กจึงสามารถแต่งตัว หวีผม แปรงฟัน และทำงานที่ละเอียดขึ้นได้ การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายที่สังเกตเห็นได้ชัดเจนมีดังนี้ 
       - ฟัน เด็กวัยนี้จะมีฟันน้ำนมครบ 20 ซี่ หลังจากนั้นฟันน้ำนมจะเริ่มหลุดและจะมีฟันแท้ขึ้นมาแทนที่ ซี่แรกที่ขึ้นมาเป็นฟันกรามซี่ล่าง เด็กจะปวดและรำคาญ อาจเป็นสาเหตุให้เบื่ออาหาร พ่อแม่และผู้เลี้ยงดูเด็กควรช่วยทำความสะอาดปากและฟันให้กับเด็ก ด้วยการใช้ผ้าชุบน้ำสะอาดหรือใช้แปรงสีฟันที่มีขนอ่อนนุ่ม และระมัดระวังไม่ให้แปรงสีฟันกระทบเนื้อเยื่อในปาก เพราะจะทำให้เด็กเจ็บและไม่อยากแปรงฟัน 
        - กล้ามเนื้อใหญ่ จะมีความก้าวหน้ามากกว่ากล้ามเนื้อเล็ก เด็กวัยนี้สามารถบังคับการเคลื่อนไหวของร่างกายได้ดี เดินได้คล่อง สามารถวิ่งและกระโดดได้ดี ไม่ค่อยอยู่นิ่ง 
        - กล้ามเนื้อเล็ก เด็กวัยนี้ ยังจับดินสอไม่ค่อยถนัด แต่ก็สามารถวาดวงกลมหรือรูปเรขาคณิตได้ และเด็กจะทำได้ดีขึ้น เมื่ออายุมากขึ้น 
         - ความสัมพันธ์ระหว่างตาและมือ ยังไม่สมบูรณ์ เด็กวัยนี้จึงมีความยากลำบากในการใช้สายตาจับจ้องหรือเพ่งดูวัตถุเล็กๆ ดังนั้น ตัวหนังสือที่จะให้เด็กวัยนี้อ่าน จึงควรเป็นตัวโตๆ และความถนัดในการใช้มือซ้ายหรือขวาของเด็ก จะเห็นได้ชัดในวัยนี้ พ่อแม่จึงควรสังเกตความถนัดของเด็ก และอธิบายให้เด็กที่ถนัดซ้ายทราบว่าเป็นของธรรมดา ไม่ได้เป็นเรื่องผิดปกติ
พัฒนาการด้านร่างกายของเด็กวัยอนุบาล (อายุ 3-6 ขวบ) เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว การเลี้ยงดูในช่วงวัยนี้จึงมีผลต่อคุณภาพของการเจริญเติบโต ความแข็งแรงของร่างกาย การเคลื่อนไหวและการทรงตัว หากผู้ใหญ่ที่ดูแลเด็กมีความเข้าใจเกี่ยวกับพัฒนาการและให้การเลี้ยงดูที่เหมาะสม เด็กจะสามารถพัฒนาความสามารถของตนได้อย่างเต็มที่ เต็มศักยภาพ


                                     





ประเมินตนเอง    :  ตั้งใจฟังเพื่อนนำเสนองานไม่คุยกันเสียงดัง
ประเมินเพื่อน      :  ตั้งใจฟังกลุ่มต่างๆนำเสนอดี ไม่เสียงดังรบกวนเพื่อน

ประเมินอาจารย์  :  อธิบายบทความของแต่ละคนเพิ่มหลังจากที่นักศึกษาแต่ละคนนำเสนอเสร็จใหเนักศึกษาเข้าใจเพิ่มขึ้น และอธิบายเข้าใจง่าย




วันพฤหัสบดีที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561








ครั้งที่ 6
วันอังคาร ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

 ความรู้ที่ได้รับ

               การเรียนการสอนวันนี้อาจารย์บาสให้นำเสนองานของกลุ่มต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น PowerPoint หรือวีดีโอต่างๆที่นักศึกษาคิดกันมาแต่ละกลุ่ม กลุ่มของดิฉันเสนอเรื่อง ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์ก (Lawrence Kohlberg)


 รูป บรรยากาศการเรียน

ประวัติลอเรนซ์ โคลเบิร์ก (Lawrence Kohlberg)
            ลอว์เร Kohlberg (25 ตุลาคม 1927 - 19 มกราคม 1987) เป็น อเมริกันยิว นักจิตวิทยา ที่เกิดใน Bronxville, New York , ที่ทำหน้าที่เป็นอาจารย์ที่ มหาวิทยาลัยชิคาโกเป็น HarvardUniversity ผู้เชี่ยวชาญในการวิจัยเกี่ยวกับการศึกษาคุณธรรมและเหตุผล ในทฤษฎีของขั้นตอนของการพัฒนาจริยธรรม ความรู้ความเข้าใจ การทำงานของ Kohlberg สะท้อนและขยายความคิด ของบรรพบุรุษของเขาในเวลาเดียวกันการสร้างเขตข้อมูลใหม่ภายในจิตวิทยา "การพัฒนาคุณธรรม"

           ลอว์เรนซ์ โคลเบอร์ก (Lawrence Kohlberg Lawrence Kohlberg Lawrence Kohlberg )ได้ศึกษาพัฒนาการทางจริยธรรมตามแนวเพียร์เจท์ และพบว่าพัฒนาการทางจริยธรรมของมนุษย์นั้นมิได้บรรลุจุดสมบูรณ์เมื่อบุคคลอายุได้ ๑๐ ปี แต่จะพัฒนาไปอีกหลายขั้นตอนจากอายุ 11-25 ปี และเขายังเชื่อว่า ในการวัดขั้นพัฒนาการทางจริยธรรมนั้นจะต้องใช้การให้เหตุผลเชิงจริยธรรมอย่างเดียวเท่านั้น โคลเบอร์ก ได้แบ่งระดับของจริยธรรมออกเป็น 3 ระดับ ซึ่งทั้ง 3 ระดับนั้นจัดเป็นขั้นพัฒนาการทางจริยธรรมได้ 6ขั้น  คือ
                  ใช้หลักการหลบหลีกการลงโทษ (Obedience and Punishment Orientation) 
 เกิดขึ้นกับเด็กในช่วงอายุแรกเกิดถึง 7 ปี ขั้นนี้เด็กชอบใช้การหลีกเลี่ยงการถูกลงโทษ เลือกกระทำในทางที่เกิดประโยชน์แก่ตนเองมากกว่า เด็กมักเข้าใจว่าความดี หมายถึงสิ่งที่ทำแล้วไม่ถูกลงโทษหรือถูกตำหนิ เช่น เด็กทำการบ้าน เด็กทำเวรเพราะกลัวครูลงโทษ เป็นต้น การตัดสินว่าอะไรถูกหรือผิด เด็กจะมองที่ผลของการกระทำว่าถ้าทำเสียหายมากก็ตัดสินว่า การกระทำนั้นผิด ไม่ได้มองที่สาเหตุของการกระทำ
                 ใช้หลักการกระทำที่คนอื่นเห็นว่าดี  (Good-boy Orientation) 
เกิดกับบุคคลในช่วงอายุ 10-13 ปี  ขั้นนี้ตรงกับวัยที่เด็กย่างเข้าวัยรุ่น เด็กจะให้ ความสำคัญแก่กลุ่มเพื่อนมาก จะกระทำเพื่อต้องการให้กลุ่มยอมรับ จึงมีการ เลียนแบบตัวแบบที่ตนเห็นว่าดีงาม คือ เอาอย่างเด็กดี (Good Boy,Nice Girl) เด็กวัยนี้ส่วนใหญ่จะทำตามในสิ่งที่ตนตัดสินว่าคนอื่นจะเห็นด้วยหรือยอมรับ เพื่อให้เป็นที่ชอบ พอและเป็นที่ยอมรับของกลุ่มเพื่อน
 สรุป จริยธรรมขั้นนี้จะเน้นหนักในด้านการทำตามคนอื่นมากว่าการคำนึงเรื่องการถูกลงโทษและการต้องการรางวัล 
                  ใช้หลักการกระทำตามหน้าที่  (Authority  and Social Order Maintaining Orientation)
เกิดกับบุคคลในช่วงอายุ 13-16 ปีขั้นนี้บุคคลจะมีความรู้และประสบการณ์ ว่าแต่ละกลุ่มจะมีกฎเกณฑ์ให้สมาชิกยึดถือมีความเข้าใจในหน้าที่ของตนในกลุ่ม มีศรัทธาในกฎเกณฑ์ของกลุ่มมากพอสมควร เข้าใจในบทบาทของผู้อื่น การกระทำที่ถูกต้องจะต้องพิจารณาเพื่อกลุ่มหรือส่วนรวม  
สรุปว่า จริยธรรมขั้นนี้เน้นในเรื่องการกระทำตามหน้าที่ในหมู่คณะทำตามขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมมากกว่า กลัวการถูกลงโทษ หรือทำเพื่อต้องการรางวัลหรือการกระทำตามกลุ่มเพื่อน
                   ใช้หลักการเคารพตนเองหรือการทำตามคำมั่นสัญญา (Contractual Legalistic Orientation) เกิดกับบุคคลอายุตั้งแต่ 16 ปีขึ้นไป ขั้นนี้บุคคลพยายามกระทำเพื่อหลบหนีไม่ให้ถูกตราหน้าว่าเป็นคนขาดเหตุผล เป็นคนไม่แน่นอน คำว่าหน้าที่ของบุคคลในที่นี้ หมายถึง การกระทำตามที่ตกลงมีความเคารพตนเองและต้องการให้ผู้อื่นเคารพตน ขั้นนี้บุคคลจะมีอุดมคติหรือคุณธรรมประจำใจตนเอง หรือสัญญาไว้กับผู้อื่น เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตัวด้วย
                   ใช้หลักอุดมคติสากล (Conscience Orientation)
 เช่น หิริโอตัปปะ คือ มีความละอายใจตนเองในการกระทำชั่วและเกรงกลัวบาป เป็นบุคคลที่มีการเสียสละเพื่อสังคมอย่าง แท้จริง เช่น มหาบุรุษของอินเดีย คือ  คานธี 


 รูป บรรยากาศการเรียน


ประเมินตนเอง    :  ตั้งใจฟังสิ่งที่อาจารย์แนะนำหลังจากการนำเสนอของกลุ่มตัวเอง และฟังเพื่อนนำเสนอโดยไม่คุยเสียงดัง
ประเมินเพื่อน      :  ตั้งใจฟังกลุ่มต่างๆนำเสนอดี ไม่คุยกันเสียงดัง

ประเมินอาจารย์  :  แนะนำข้อผิดพลาดต่างๆในการนำเสนอของแต่ละกลุ่ม และอธิบายเข้าใจง่าย












วันอังคารที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561









ครั้งที่ 5
วันอังคาร ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

 ความรู้ที่ได้รับ

                    การเรียนการสอนในวันนี้อาจารย์บาสแต่ละกลุ่มออกมานำเสนองาน ที่อาจารย์ได้มอบหมายไว้ในอาทิตย์ที่แล้ว หลังจากแต่ละกลุ่มเสนอเสร็จอาจารย์บาสก็จะแนะนำและอธิบายข้อดีข้อเสียของแต่ละกลุ่ม หลังจากที่ทุกกลุ่มนำเสนอเสร็จแล้ว อาจารย์บาสก็ได้สรุปเนื้อหาของหัวข้องานอีกครั้งเพื่อให้นักศึกษาเข้าใจใากขึ้น ท้ายคาบได้นัดแนะการนำเสนองานในชั่วโมงต่อไป




  



 รูป บรรยากาศการเรียน

ประเมินตนเอง    :  ตั้งใจเรียนตั้งใจฟังอาจารย์สอนไม่พูดคุยเสียงดัง ให้ความร่วมมือในการฟังเพื่อนนำเสนอ
ประเมินเพื่อน      :  ตั้งใจฟังสิ่งที่อาจารย์บอกได้ดี ตั้งใจเรียนและฟังไม่พูดคุยกันเสียงดังและตั้ใจฟังเพื่อนกลุ่มต่างๆนำเสนอ

ประเมินอาจารย์  :  สอนและอธิบายเข้าใจง่าย แนะนำสิ่งต่างให้นักศึกษาให้เข้าใจมากขึ้น


                          

วันอาทิตย์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561











ครั้งที่ 4
วันอังคาร ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2561

 ความรู้ที่ได้รับ

             การเรียนการสอนวันนี้อาจารย์ให้ทำแผนฝังเรื่องความต้องการของเด็กปฐมวัย ความต้องการของเด็ก ไม่ว่าจะด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ จิตใจ ด้านสังคมและด้านสติปัญญา ว่าเด็กวัยนี้ต้องการอะไรในด้านนั้นๆ และคุณครูกับผู้ปกครองมีวิธีตอบสนองความต้องการของเด็กอย่างไร เพื่อมานำเสนอหน้าห้องเรียน


 รูป บรรยากาศการเรียน



รูป บรรยากาศการเรียน



ประเมินตนเอง    :  ตั้งใจเรียนตั้งใจฟังอาจารย์สอนไม่พูดคุยเสียงดัง ให้ความร่วมมือในการเรียนได้ดี ลงมือทำงานตามที่อาจารย์สั่ง
ประเมินเพื่อน      :  ตั้งใจฟังสิ่งที่อาจารย์บอกได้ดี ตั้งใจเรียนและฟังไม่พูดคุยกันเสียงดังและทำงานที่อาจารย์สั่ง
ประเมินอาจารย์  :  สอนและอธิบายเข้าใจง่าย ไม่เครียดจนเกินไป