วันพุธที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561









ครั้งที่ 2
วันอังคาร ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2561

 ความรู้ที่ได้รับ 

            วันนี้อาจารณ์ได้เริ่มสอนเกี่ยวกับเนื้อหาวิชาบทที่ 1 เด็กปฐมวัยและการพัฒนาและทฤษฏีพัฒนาการกับเด็กปฐมวัยว่ามีอะไรบ้าง มีเนื้อหาดังนี้
            1. ความหมายของเด็กปฐมวัย
            2. ความสำคัญของเด็กปฐมวัย
            3. ธรรมชาติของเด็กปฐมวัย
            4. ความหมายของพัฒนาการ
            5. ลักษณะของพัฒนาการ
            6. ลักษณะทั่วไปของพัฒนาการเด็กปฐมวัย
            7. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัย



                                                                    รูป บรรยากาศการเรียน

เด็กปฐมวัย
            เด็กปฐมวัย หมายถึง เด็กที่มีอายุตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 ปี       มีธรรมชาติที่อยากรู้อยากเห็น ช่างสงสัย ช่างซักถาม ชอบค้นคว้า สำรวจ อยู่ไม่นิ่ง ชอบอิสระเป็นตัวของตัวเอง เป็นวัยที่กำลังพัฒนาคุณภาพชีวิตทางร่างกาย อารมณ์สังคม และสติปัญญาอย่างเต็มที่

ความสำคัญของเด็กปฐมวัย
            ความสำคัญต่อการพัฒนาเด็กปฐมวัย จำเป็นต้องได้รับการอบรมเลี้ยงดู และการเรียนรู้อย่างถูกต้องเหมาะสมกับวัย ด้วยการจัดประสบการณ์และการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยให้เด็กได้พัฒนาตามศักยภาพของตน เพื่อให้เด็กปฐมวัยได้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีในอนาคต เป็นคนดี คนเก่ง มีความสุข และเติบโตเป็นพลเมืองที่ดีมีคุณภาพ สามารถดำรงวิถีชีวิตในสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจยุคใหม่ได้อย่างรู้เท่าทัน



                                                                  รูป บรรยากาศการเรียน


ธรรมชาติของเด็กปฐมวัย
            • ยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง
            • ไม่รู้ว่าความคิดความรู้สึกของตนต่างไปจากของผู้อื่น
            • ชอบเลียนแบบบุคคลที่ตนรัก หรือตนสนใจ
            • มีความอยากรู้อยากเห็นสูง
            • มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์กับสิ่งที่ตนเองเล่น
            • มีอารมณ์รุนแรง มีความอิจฉาริษยาสูง
            • พยายามเรียนรู้การปรับตัวเข้ากับเพื่อนเล่น
            • ต้องการการยอมรับจากผู้ใหญ่ แสวงหารางวัลด้วยการกระทำ
               ฯลฯ

ลักษณะของพัฒนาการ
1. พัฒนาการเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องกัน
2. การพัฒนาจะมีทิศทางของพัฒนาการที่แน่นอน
1) พัฒนาการเริ่มจากส่วนบนไปสู่ส่วนล่าง (cephalo - caudaldirection)
2) พัฒนาการเริ่มจากแกนกลางของลำตัว ไปสู่อวัยวะส่วนข้างที่ไกลออกไป (proximo distal direction)
3) พัฒนาการของมนุษย์จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีแบบแผนและเป็นขั้นตอนไม่มีการข้ามขั้น
4) อัตราพัฒนาการของเด็กแต่ละคนจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับองค์ประกอบใหญ่ ๆ 2 ชนิด คือ พันธุกรรม และสภาพแวดล้อม
        5) ความก้าวหน้าของพัฒนาการ คือ ความสามารถในการแยกแยะความสามารถต่าง ๆ ของอินทรีย์ (differentiation)
6) พัฒนาการจะมีความสัมพันธ์กันซึ่งจะสามารถทำนายพัฒนาการของเด็กได้ ถ้าพัฒนาการด้านใดด้านหนึ่งบกพร่องจะนำไปสู่ความบกพร่องในด้านอื่น ๆ ด้วย
7) พัฒนาการส่วนต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นของร่างกายมีอัตราในการพัฒนาไม่เท่ากัน แม้ว่าจะมีพัฒนาการหลายด้านเกิดขึ้นพร้อม ๆ กันก็ตาม
8) พัฒนาการของเด็กแต่ละวัยจะมีลักษณะเฉพาะ
9) พัฒนาการของมนุษย์มีความแตกต่างกัน

ลักษณะทั่วไปของพัฒนาการเด็กปฐมวัย
1. เกิดจากองค์ประกอบภายในร่างกาย (internal factors) ได้แก่
1.1 พันธุกรรม (heredity)
1.2 วุฒิภาวะ (maturation)
2. เกิดจากองค์ประกอบภายนอกร่างกาย (external factors)

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัย
        1. อาหาร
2. อากาศที่บริสุทธิ์และแสงแดด
3. เชื้อชาติ
4. เพศ
5. ต่อมต่าง ๆ ของร่างกาย
6. สติปัญญา
7. การบาดเจ็บและโรคภัยไข้เจ็บ
8. ตำแหน่งในครอบครัว

ความหมายและลักษณะของเด็กพิเศษ
        คำว่า เด็กพิเศษ หรือ Children With Special Need หมายถึงเด็กที่มีลักษณะหรือความต้องการพิเศษ ยังมีคำภาษาไทยใช้กันอยู่หลายคำ คือเด็กนอกระดับ เด็กผิดปกติ เด็กพิการ เด็กอปกติ แต่คำที่ใช้บ่อย และถือเป็นสากลก็คือคำว่า “เด็กพิเศษ”
        ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
            เด็กที่มีความต้องการพิเศษสามารถจัดแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ
1. กลุ่มเด็กที่มีลักษณะความสามารถสูง
2. กลุ่มเด็กที่มีลักษณะทางความบกพร่อง
    ด้วยความสามารถหรือมีปัญหา ซึ่งเป็นกลุ่มเด็กที่มีการเรียนรู้ช้า ตลอดจนการพัฒนาด้านต่าง ๆ  เทียบไม่ได้กับเด็กในระดับเดียวกัน และในกลุ่มเด็กบกพร่องนี้ จะมีปัญหาในเรื่องพฤติกรรมตามมา
 การเจริญเติบโตของเด็กปฐมวัยตั้งแต่ปฏิสนธิถึงแรกเกิด
         พรทิพย์ พิชัย (2542, หน้า 30) ได้ให้ความหมาย การเจริญเติบโตว่าหมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในร่างกาย โดยเพิ่มทั้งทางด้านขนาดซึ่งสามารถวัดได้ เช่น น้ำหนัก ส่วนสูง ขนาด วงรอบศีรษะ ฯลฯ
สุธิภา อาวพิทักษ์ (2542, หน้า 3) ได้ให้ความหมายของการเจริญเติบโต ว่าเป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงของขนาดซึ่งเกิดจากการเพิ่มจำนวนหรือขนาดของเซลล์ต่าง ๆ ของร่างกาย อาจเกิดเพียงเฉพาะที่หรือทุกส่วนของร่างกาย หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ การเพิ่มขนาดของร่างกายที่สามารถวัดได้ เช่น น้ำหนัก ความสูง ความหนา หรือขนาด
การปฏิสนธิ
        การปฏิสนธิ คือ การผสมของอสุจิซึ่งเป็นเซลล์สืบพันธุ์ของพ่อ กับเซลล์ของแม่คือไข่ รวมเป็นเซลล์เดียวกันเกิดการปฏิสนธิ (Conception) เกิดเป็นเซลล์เล็กกว่าไข่ใบเดิมมีขนาด 0.15 มิลลิเมตร ซึ่งเล็กกว่าจุด นั่นคือจุดเริ่มต้นของชีวิต

ความต้องการของเด็กปฐมวัย
         ความต้องการของเด็กปฐมวัย อาจแบ่งความต้องการได้ดังนี้
1. ความต้องการด้านร่างกาย
2. ความต้องการด้านอารมณ์
3. ความต้องการด้านสังคม
4. ความต้องการด้านสติปัญญา

พัชรี เจตน์เจริญรักษ์ (2545, หน้า 25) กล่าวถึง ความต้องการและสิทธิพื้นฐานที่เด็กพึงได้รับ โดยเฉพาะในด้านสิทธิเด็กพื้นฐานของเด็กตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กประกอบด้วย
   ประการที่ 1 สิทธิในการมีชีวิตอยู่รอด
   ประการที่ 2 สิทธิในการได้รับการปกป้องคุ้มครอง
   ประการที่ 3 สิทธิในการมีส่วนร่วม
   ประการที่ 4 สิทธิในการได้รับการพัฒนา


ประเมินตนเอง    :  ให้ความร่วมมือในการเรียนและตั้งใจเรียนตั้งใจฟังอาจารย์ไม่พูดคุยเสียงดัง
ประเมินเพื่อน      :  ตั้งใจฟังสิ่งที่อาจารย์บอกได้ดี ตั้งใจเรียนและฟังไม่พูดคุยกันเสียงดัง 
ประเมินอาจารย์  :  สอนเข้าใจง่ายและไม่เครียดจนเกินไป อธิบายชัดเจน มีภาพและวีดีโอให้นักศึกษาดูเพื่อเพิ่มความเข้าใจ ทำให้นักศึกษาเข้าใจมากขึ้น
   

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น